วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีต่อสายแลน

การต่อสาย LAN

สาย LAN

ปัจจุบันเมื่อพูดถึงสายแลน  ใครๆ หลายคนก็อาจจะคุ้นเคย หรือไม่เคยรู้จักมาก่อน วันนี้เราจะพาไปรู้จักสายแลนเป็นสายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Switch หรือ HUB (แต่เราสามารถเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ก็ได้ด้วยเช่นกัน)








             สายแลนมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทจะมีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณแตกต่างกันออกไป สำหรับปัจจุบันสายแลนที่นิยมใช้กันมากคือ UTP (UNSHIELD TWISTED PAIR) คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน ส่วนหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายแลนเรียกว่า RJ45

การต่อสายแลนมี 2 แบบ ดังนี้

1.การเข้าหัวแบบสายตรง ( Straight-through cable EIA/TIA 568B )

                                   lan02
สายชนิดนี้ใช้สำหรับเชื่อมกับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน ดังตารางต่อไปนี้

      โดยคู่ ขาวส้ม – ส้ม และ ขาวเขียว-เขียว  จะเป็น 2 คู่ที่มีความถี่ในการตีเกลียวมากสุด เพื่อลดสัญญาณรบกวนจากภายนอกมากสุด   (โดยจะอยู่ใน ลำดับที่ 1 2 3 6 ที่เป็นpin ที่มีการรับส่งสัญญาณLAN      PINกลาง 4 – 5จะเป็นคู่ขาวฟ้า-ฟ้าได้ออกแบบไว้รองรับสันญาณโทรศัพท์ที่จะมาในคู่กลาง   Pin 7-8 ขาวตาล-ตาล เป็นคู่ที่ออกแบบมาเพื่อสำรองการใช้งานในอนาคต)

2.การเข้าหัวแบบสายไขว้ ( Crossover cable EIA/TIA 568A & 568B )

                                    lan03
สายชนิดนี้ใช้สำหรับเชื่อมกับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน ดังตารางต่อไปนี้



อุปกรณ์ต้นทาง อุปกรณ์ปลายทาง
HUBHUB
SwitchSwitch
SwitchHUB
ComputerComputer


การเข้าหัวของสายแลนให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นจะทำให้การรับส่งสัญญาณข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ จะทำให้การใช้งานไม่เกิดปัญาที่ตามมา ไม่ว่าจะเอาไปใช้กับอุปกรณ์ใดๆ ที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าเกิดการเข้าหัวสายแลนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่อาจจะทำให้การส่งข้อมูลหรือสัญญาณความเร็วนั้น ไม่ดีเท่าที่ควร เราสามารถทดสอบหลังจากที่เข้าหัวของสายแลน จากเครื่องวัดเบื้องต้นแบบหลอดLED (สัญญาณไฟจะติดสีแดง หรือไม่ติดนั้น ก็จะบ่งบอกว่าการเข้าหัวของสายแลนผิดคู่ หรือสีของสายแลนไม่เข้ากัน) หรือทดสอบีวิธีคือ ทดสอบด้วยการ Ping (ที่ระยะ 30 เมตร ก็เริ่มจะมีความผิดพลาดและสัญญาณขาดๆ หายๆ )


lan04


         PoE ย่อมาจาก Power Over Ethernet หมายถึง การจ่ายกระแสไฟฟ้าไปบนสายแลน
โดยในการติดตั้งระบบและอุปกรณ์เครือข่ายเราจะมีการเดินสายหลักอยู่ 2 ชนิด คือ

สายไฟ – จากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์
สายแลน – เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบเครือข่าย
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า POE ที่เข้ามามีบทบาททำให้เราสามารถลดภาระทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องเสียไปจากการลากสายทั้ง 2 ชนิดข้างต้นให้เหลือเพียงชนิดเดียวก็คือ สายแลน โดยให้สายและมีหน้าที่ในการเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้กับตัวอุปกรณ์ด้วยนอกเหนือจากการทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบเครือข่ายตามปกติ จะเห็นว่าสายแลนก็เหมือนสายแลนทั่วๆ ไปแต่การเข้าหัวของสายแลนนั้นจะมีความแตกต่างกันออกไป
ปกติการส่งสัญญาณตามมาตรฐาน 10BASE-T หรือ 100BASE-TX นั้นจะใช้คู่สาย UTP เพียง 4เส้นหรือ2คู่เท่านั้นโดยจะมีคู่ที่เหลืออีก 2 คู่เป็นคู่สายสำรอง ซึ่งก็สามารถใช้คู่สายที่เหลืออยู่ในการส่งกระแสไฟได้  แต่สำหรับ 1000BASE-T หรือ Gigabit Ethernet Network นั้นจำเป็นต้องใช้คู่สายทั้งหมดทั้ง 8 เส้นหรือ 4 คู่ ท่านสงสัยหรือไม่ว่าแล้วจะใช้สายทองแดงคู่ไหนในการส่งกระแสไฟ ในเมื่อต้องใช้สายทองแดงทั้งหมดที่มี คำตอบก็คือ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Phantom power ซึ่งทำให้สามารถส่งกระแสไฟไปพร้อมๆกับส่งข้อมูลนั่นเองสามารถดูได้ที่รูปต่อไปนี้



                              lan05
สรุปว่าสายแบบ POE นั้น เป็นการเข้าหัวแบบเดียวกันเหมือนกับสาย (CROSSOVER)



ประโยชน์ของเทคโนโลยี POE

ประหยัดกว่าเดินสายไฟ และในบางสถานที่ การเดินสายไฟ AC ใหม่ไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point อาจจะเป็นไปไม่ได้

ติดตั้งง่ายและรวดเร็วกว่า เพราะใช้สายเพียง UTP เพียงเส้นเดียวไม่ต้องลากสายไฟใหม่ หมดกังวลในการหาที่ติดตั้งปลั๊กไฟ และลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการดูแลรักษาอีกด้วย

รองรับความเร็วระดับ Gigabit

ไฟแบบ 48V DC สามารถทำระบบ Back-up ไฟได้ง่ายกว่า โดยสามารถสร้างระบบสำรองไฟด้วย Battery และยังช่วยสร้างระบบบริหารกระแสไฟจากส่วนกลางได้อีกด้วย


ทำไมควรเลือกใช้ POE

ประหยัดกว่าการเดินสายแบบปกติ เพราะอุปกรณ์น้อยกว่า
ลดขีดจำกัดการออกแบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก
ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง
ลดความเสี่ยงเรื่องอันตรายจากไฟฟ้าดูด
สามารถใช้งานในฟังก์ชั่น SNMP Network ได้


ประโยชน์และข้อดีที่ได้รับจาก POE

สามารถใช้อุปกรณ์ Network ต่างๆ เช่น Access Point, IP Camera โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟฟ้า
ลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องเดินสายไฟไปพร้อมกับสาย UTP
ทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์ต่าง
มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำและเป็นไฟกระแสตรง
สามารถนำมาติดตั้งเพิ่มเติมกับระบบเดิมได้














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น